ประกาศ (1)
canvaa

 จัดไฟแนนซ์รถยนต์ รีไฟแนนซ์รถยนต์ โอนย้ายไฟเเนนซ์รถยนต์ รีย้ายไฟเเนนซ์รถยนต์ ปิดบัญชีรถค้างงวด ไถ่ถอนรถยึด ปิดบัญชีรถฟ้อง จำนำทะเบียนรถยนต์ รับซื้อรถยนต์มือสอง รถชื้อขายกันเอง รถซื้อขายผ่านเต็นท์ ปิดบัญชีไฟแนนซ์รถยนต์ รับรถยนต์ตั้งแต่ 4-18 ล้อ จำนองโฉนดที่ดินเเละบ้าน โอนย้ายไถ่ถอนโฉนดและบ้าน

  • ไม่เช็คเครดิตบูโร
  • ไม่เช็คแบล็คลิส
  • ไม่ต้องค้ำประกัน
  • ไม่ต้องโอนรถ
  • ไม่ต้องจอดรถ
*เงื่อนไขเป็นไปตามผู้ให้บริการกำหนด

>> มีรถมีโฉนด เงินสดถึงบ้าน

ให้วงเงินสูง >> ดอกเบี้ยต่ำ >> ผ่อนนาน 84 งวด

ปิดบัญชีทันใจ >> มีเงินใช้ทันที  >> ไม่มีค่าใช้จ่ายก่อน

อนุมัติง่าย >> กู้ได้ทุกอาชีพ  >> ได้เงินไวชัวร์ 100%

บริการถึงที่ >> ฟรี..ทั่วไทย >> อยู่ไหนก็จัดได้

ปัญหาเหล่านี้ "CiMF Leasing บริการสินเชื่อรถยนต์" ปรึกษาฟรี.. มีทางออก เราช่วยคุณได้!!

ติดต่อสอบถามที่นี่

 

     สำหรับการซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ รถบรรทุก รถการเกษตร บ้าน โฉนดที่ดิน รถจักรยานยนต์ หรือทรัพย์สินอื่น ๆ บางคนไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงินสด ไม่ว่าจะปัจจัยจากสภาพคล่องทางการเงิน การวางแผนทางการเงินที่ยังไม่สามารถจ่ายเงิดสดซื้อได้ในคราวเดียว จึงนิยมใช้วิธีกู้เงินหรือจัดไฟแนนซ์แทน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจในการจัดไฟแนนซ์และวิธีการขอไฟแนนซ์ ซึ่งรายละเอียดจะเน้นไปที่การจัดไฟแนนซ์รถยนต์ เริ่มแรกมาทำความเข้าใจความหมายของจัดไฟแนนซ์กันก่อน

การจัดไฟแนนซ์ หมายถึงอะไร ?

     จัดไฟแนนซ์ หมายถึง การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินทั้งรัฐบาลและเอกชน เพื่อซื้อรถยนต์ในกรณีที่คุณไม่มีเงินก้อนมากพอจะจ่ายเงินเพื่อซื้อรถในคราวเดียว ซึ่งจะเป็นผู้ดำเนินการจ่ายเงินก้อนนี้ให้กับบริษัทรถยนต์ และคุณจะต้องผ่อนชำระให้กับทางสถาบันเงินทั้งของรัฐบาลและเอกชน จะแบ่งแบบจ่ายเป็น งวด ๆ ไป จนครบสัญญาที่ตกลงกันไว้ทั้ง 2 ฝ่าย

การจัดไฟแนนซ์ คืออะไร ?

      การจัดไฟแนนซ์ คือ การขอกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ธนาคาร หรือบริษัทไฟแนนซ์ เพื่อนำเงินมาซื้อรถยนต์ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ การซื้อรถยนต์ใหม่ป้ายแดง, การซื้อรถยนต์มือสอง และการรีไฟแนนซ์หรือการถือกรรมสิทธิ์ในการครอบครองรถที่ต้องการนำรถมาแลกเป็นเงินการ "จัดไฟแนนซ์" เรียก เป็นภาษาทางการ ได้อีกอย่างหนึ่งว่า “การเช่าซื้อ” เป็นหนึ่งในวิธีการขอสินเชื่อ ซึ่งในที่นี้ขอเอ่ยถึงแค่เพียงการจัดไฟแนนซ์ของรถยนต์เท่านั้น ในปัจจุบันนี้มีบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเช่าซื้อรถยนต์เกิดขึ้น มากมาย ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สถาบันการเงินเอกชนต่าง ๆ หรือที่เรียกว่า "ไฟแนนซ์ท้องถิ่น" กระจายอยู่ทุกอำเภอ และทุกจังหวัด นั้นๆ เป็นต้น ทั้งนี้แต่ละบริษัทฯ จะมีหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่พิจารณาเพื่ออนุมัติแตกต่างกันไป

การจัดไฟแนนซ์เช่าซื้อรถยนต์มีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

     1. การเช่าซื้อรถยนต์ใหม่จากตัวแทนจำหน่ายโดยตรงหรือสถาบันการเงินที่เข้าร่วม เช่น Toyota Leasing , Honda Leasing, Isuzu Leasing , Nissan Leasing ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน), ธนาคารทีทีบีธนชาติ จำกัด (มหาชน), ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), ฯลฯ เป็นต้น
     2. การเช่าซื้อรถยนต์ใช้แล้ว หรือที่เรียกว่ารถมือสอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี ดังนี้
     2.1 ซื้อรถใช้แล้วหรือรถมือสองผ่านแหล่งขายรถมือ 2 โดยตรง เช่น เต้นท์รถ, เต้นท์รถมือสอง, ห้างขายรถมือสองของตัวแทนจำหน่ายรถใหม่, ตัวแทนจำหน่ายรถมือสอง, ศูนย์รวมมือสอง, ในกรณีแบบนี้ทางผู้ขายมักจะมีสถาบันการเงินไว้คอยบริการจัดไฟแนนซ์ ไว้บริการ เหมือน การซื้อรถยนต์ใหม่ เช่นกัน
     2.2 ซื้อรถใช้แล้วหรือรถมือสอง จากบุคคลอื่น เช่น
>> ซื้อขายกันเอง ซื้อจากคนในครอบครัว บิดา/มารดา สามี/ภรรยา บุตร เป็นต้น
>> ซื้อจากเครือญาติ พี่/น้อง ลุง/ป้า น้า/อา หลาน เป็นต้น
>> ซื้อจากเพื่อน ซื้อจากเพื่อนของเพื่อน หรือ คนรู้จัก มาก่อนอยู่แล้ว
>> ซื้อจากเวปไซด์ ลงประกาศขายรถยนต์ ทั่วไป โดย ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน
>> ซื้อจาก พ่อค้าตั้งกล่องขาย หรือ เจ้าของตั้งกล่องขายเอง เป็นต้น
     การขายในข้อ 2. นี้ผู้ซื้ออาจจะต้องติดต่อกับสถาบันการเงินหรือที่รับจัดไฟแนนซ์เอง หรืออาจจะขอให้ทางเต๊นท์ที่ขายรถยนต์ทั่วไปจัดการจัดไฟแนนซ์ให้ ซึ่งก็อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อความสะดวกนั่นเอง
     3. การเช่าซื้อรถยนต์แบบออนไลน์ วิธีการจัดไฟแนนซ์แบบนี้เป็นวิธีที่สะดวกมากที่สุดเหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบันจริงๆ ใครที่ต้องการความสะดวกไม่อยากเดินทางไปติดต่อเรื่องราวให้วุ่นวายก็สามารถจัดไฟแนนซ์ได้ผ่านช่องทางออนไลน์ตามเว็บไซต์ของสถาบันการเงินต่างๆได้เลยค่ะ แถมคุณยังสามารถคิดคำนวณค่าใช้จ่ายได้ล่วงหน้าก่อนตัดสินใจได้ด้วยไม่ว่าคุณกำลังอยากซื้อรถใหม่ หรือรถมือสอง หรือจะเลือกการจัดไฟแนนซ์ประเภทไหน สิ่งที่สำคัญที่ควรคิด คือ ราคารถยนต์ อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการผ่อนชำระ และจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละงวดครับ

ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก กับ ดอกเบี้ยแบบคงที่ แตกต่างกันอย่างไร ?

ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก คืออะไร ?
     ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก (Effective Rate) คือ ดอกเบี้ยที่คำนวณจากเงินต้นที่เหลือในทุก ๆ งวด ทำให้เมื่อมีการผ่อนชำระบางส่วนไปแล้ว ดอกเบี้ยที่ต้องชำระในงวดถัดไปก็จะน้อยลงเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินต้นที่เหลือ ทั้งนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกมักใช้กับสินเชื่อบ้านและสินเชื่อส่วนบุคคล แต่ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป ผู้ที่เช่าซื้อรถยนต์-รถจักรยานยนต์ สามารถเลือกใช้ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ได้เช่นกัน จากเดิมที่ต้องใช้ดอกเบี้ยแบบคงที่ เท่านั้น

ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก มีข้อดีอะไรบ้าง ?
     แน่นอนว่าข้อดีของการผ่อนแบบดอกเบี้ยลดต้นลดดอกก็คือ เมื่อผ่อนไปในแต่ละงวด อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็จะถูกลงเรื่อย ๆ และถ้าเดือนไหนเรามีความสามารถจ่ายค่างวดได้เพิ่มขึ้น หรือหาเงินก้อนมาโป๊ะได้ ก็จะยิ่งทำให้เงินต้นที่ต้องผ่อนเหลือน้อยลง ดอกเบี้ยที่คำนวณในงวดถัดไปก็จะยิ่งน้อยลงตามไปด้วย จึงเหมาะกับผู้ที่มีแผนจะหาเงินก้อนมาโป๊ะเพื่อให้หนี้หมดไว ๆ นั่นเอง

วิธีคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ?
     ในการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกที่ต้องจ่ายในแต่ละงวดนั้น ให้นำเงินต้นคงเหลือในงวดดังกล่าวมาคำนวณด้วยสูตรดังต่อไปนี้
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น = (เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันในงวด) ÷ จำนวนวันต่อปี)
     ยกตัวอย่างเช่น เงินต้นคงเหลือ 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% ต่อปี ก็จะมีดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น = (20,000 x 10% x 30) ÷ 365 = 164.38 บาท หลังจากนั้นถ้าหากต้องการทราบว่างวดถัดไปต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่าไร ให้คำนวณหาเงินต้นคงเหลือ สมมติต้องผ่อนชำระเดือนละ 2,000 บาท ให้นำไปหักลบกับดอกเบี้ยที่จ่ายในงวดนั้น ก็จะได้ออกมาเป็นเงินต้นที่ลดลง = 2,000 - 164.38 = 1,835.62 บาท จากนั้นก็นำเงินต้นคงเหลือจากงวดก่อนมาหักลบ ก็จะได้เงินต้นคงเหลือ = 20,000 - 1,835.62 = 18,164.40 บาท ซึ่งสามารถนำไปคำนวณหาดอกเบี้ยต่อได้เลย

ดอกเบี้ยคงที่ คืออะไร ?
     ดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) คือ ดอกเบี้ยที่คำนวณจากเงินต้นทั้งก้อนตั้งแต่วันที่ทำสัญญา แล้วนำไปหารกับจำนวนงวดที่ต้องผ่อน ทำให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยเท่าเดิมในทุก ๆ งวด ถึงแม้จะมีการผ่อนชำระไปบางส่วนแล้ว ดอกเบี้ยก็จะไม่ลดน้อยลง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วดอกเบี้ยแบบคงที่มักจะใช้กับการกู้ยืมเพื่อซื้อรถยนต์

ดอกเบี้ยคงที่ มีข้อดียังไง ?
     ถึงแม้ว่าดอกเบี้ยแบบคงที่จะคำนวณดอกเบี้ยในอัตราเท่าเดิมตลอด ไม่ว่าจะผ่อนชำระไปแล้วเท่าไร แต่ถ้าหากไม่ได้มีแผนที่จะโปะเงินก้อนเพื่อปิดหนี้อยู่แล้ว และต้องการผ่อนไปเรื่อย ๆ ในกรณีที่การผ่อนแบบดอกเบี้ยคงที่มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าแบบลดต้นลดดอก การเลือกผ่อนแบบนี้ก็จะช่วยประหยัดดอกเบี้ยที่ต้องชำระได้มากกว่านั่นเอง

วิธีคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ ?
     ในการคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยในแต่ละงวดที่ตายตัวอยู่แล้ว เราจะสามารถคำนวณหาจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมดได้ด้วยสูตรดังต่อไปนี้ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนปี สมมติให้เงินต้นเป็น 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% และผ่อนเป็นระยะเวลา 3 ปี จะมีจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด = 100,000 x 10% x 3 = 60,000 บาท หลังจากนั้นถ้าหากต้องการทราบว่าจะต้องผ่อนชำระเดือนละเท่าไร ให้ใช้สูตรดังนี้ เงินผ่อนชำระต่อเดือน = (เงินต้น + ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด) ÷ จำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ เพราะฉะนั้นถ้านำจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมดจากด้านบน มาคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือน ก็จะได้เท่ากับ (200,000 + 60,000) ÷ 36 = 7,222.22 บาท

แล้วเราจะเลือกดอกเบี้ยแบบไหนดี ?

      กรณีอัตราดอกเบี้ยเท่ากัน ในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยทั้งแบบคงที่และแบบลดต้นลดดอกเท่ากัน เช่น สินเชื่อ Y คิดดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปี ขณะที่สินเชื่อ Z คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก 5% ต่อปี เช่นนี้จะถือว่าดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกนั้นถูกกว่า เนื่องจากดอกเบี้ยที่คำนวณจากเงินต้นคงเหลือหลังผ่อนชำระไปในแต่ละงวดจะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งต่างจากดอกเบี้ยแบบคงที่ของสินเชื่อ Y ที่ไม่ว่าจะจ่ายไปแล้วกี่งวดก็ตาม จำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดต่อ ๆ ไปก็จะยังคงเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
     กรณีอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากัน เนื่องจากการคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่กับแบบลดต้นลดดอกนั้นแตกต่างกัน จึงไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันชัด ๆ ได้ว่าแบบไหนจ่ายดอกเบี้ยถูกกว่า แต่ก็สามารถใช้วิธีแปลงอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ไปเป็นแบบลดต้นลดดอกอย่างคร่าว ๆ ได้ ด้วยการนำอัตราดอกเบี้ยคงที่ไปคูณ 1.8 สมมติ เรากำลังพิจารณาขอสินเชื่อจาก 2 ธนาคาร โดยธนาคาร Y คิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 5% ส่วนธนาคาร Z คิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก 7% ตรงนี้อาจดูเหมือนว่า ธนาคาร Y จะคิดดอกเบี้ยถูกกว่า แต่เมื่อนำอัตราดอกเบี้่ยคงที่มาแปลงเป็นแบบลดต้นลดดอกก็จะได้ = 5% x 1.8 = 9% จึงสามารถบอกได้คร่าว ๆ ว่าดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกของธนาคาร Z นั้นถูกกว่า มาถึงตรงนี้คงพอได้คำตอบแล้วว่า ควรเลือกดอกเบี้ยแบบไหนดี ซึ่งถ้าเราคิดว่าในอนาคตจะมีเงินก้อนมาปิดหนี้ การเลือกแบบลดต้นลดดอกก็จะช่วยประหยัดดอกเบี้ยและเคลียร์หนี้ได้เร็วกว่า แต่ถ้าต้องการผ่อนไปเรื่อย ๆ ไม่มีเงินมาปิดหนี้ทั้งหมด น่าจะเหมาะกับดอกเบี้ยแบบคงที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม การกู้เงินก้อนใหญ่นั้นนำมาซึ่งภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบเป็นเวลานานหลายปี ผู้กู้จึงควรพิจารณาความพร้อมทางด้านการเงินของตัวเองให้ดีก่อนตัดสินใจกู้ด้วยนะครับ

ผ่อนรถควรเลือกผ่อนกี่งวดถึงจะคุ้ม ?

     การซื้อรถเงินผ่อนเป็นทางเลือกที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้ เพราะไม่ต้องวางเงินทั้งก้อนให้ใจหาย สำหรับบางคนก็ถือเป็นทางเลือกที่จำเป็น เพราะไม่สามารถเก็บเงินก้อนระดับหลายแสนหรือหลักล้านบาทได้ง่ายๆ เมื่อเราทำสัญญาเช่าซื้อรถหนึ่งคัน นอกเหนือจากจะต้องตัดสินใจว่าจะวางเงินดาวน์เป็นจำนวนเท่าไหร่ ก็ยังต้องเลือกระยะเวลาผ่อนชำระให้เหมาะสมกับสภาพคล่องทางการเงินด้วย

การเลือกระยะเวลาผ่อนแบบสั้น ?
     การเลือกระยะเวลาผ่อนน้อย เช่น 12 เดือน 36 เดือน หรือ 48 เดือน ข้อดีคือจะได้ดอกเบี้ยถูกกว่า ช่วยลดภาระหนี้ที่ไม่จำเป็นลงได้ และคุณก็ยังเป็นหนี้สั้นกว่า จึงสามารถนำเครดิตไปใช้ในทางอื่นได้เร็วกว่า เช่น ผ่อนบ้าน, ผ่อนคอนโดมีเนียม หรือกระทั่งซื้อรถใหม่อีกคัน ดังนั้น หากใครมีความจำเป็นต้องซื้อทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ภายในระยะเวลาอีกไม่นานนัก ก็ควรเลือกระยะเวลาผ่อนสั้นไว้ก่อนดีกว่า

การเลือกระยะเวลาผ่อนแบบยาว ?
     ปัจจุบัน CiMF Leasing บริการสินเชื่อรถยนต์ ศูนย์รวมไฟแนนซ์ ให้การผ่อนชำระค่างวดรถยนต์ของลูกค้าได้นาน เริ่มที่ 60 เดือน 72 เดือน นานที่สุดที่ 84 เดือน หรือคิดเป็น 7 ปี ทำให้ภาระหนี้ในแต่ละเดือนลดลง แต่ก็แลกมาด้วยดอกเบี้ยที่แพงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น หากมีกำลังจ่ายเพียงพอ ก็ควรเลือกระยะเวลาผ่อนที่สั้นกว่า เช่น 36 เดือน หรือ 48 เดือน ก็พอแล้ว 
     สำหรับใครที่กำลังมองหาสถาบันการเงินหรือไฟแนนช์ ในการขอสินเชื่อ คุณสามารถติดต่อขอสินเชื่อกับ CiMF Leasing บริการสินเชื่อรถยนต์ ศูนย์รวมไฟแนนช์ ได้ง่ายๆ เพียงกรอกข้อมูลส่วนตัว สมัครสินเชื่อออนไลน์ บนเว็บไซต์ หรือ Line@checkincimf ได้เลยครับ

canvaa

     การจัดไฟแนนช์ อีกรูปแบบหนึ่งจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างออกไปคือ การนำทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อแลกกับเงินก้อน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการรับจดจำนอง ขายฝาก เพราะดูเหมือนว่านิติกรรมทั้งจำนอง ขายฝากนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จนคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก และทำให้เกิดความสับสน
     สำหรับบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับความแตกต่างระหว่างนิติกรรมจำนอง ขายฝาก ที่มักจะพบเห็นได้ในการขอสินเชื่อหรือกู้ยืมเงินโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ถึงแม้จะดูคล้ายกันในสายตาคนทั่วไป แต่ที่จริงแล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิงในทางกฎหมาย

จดจำนองคืออะไร ?

     การจำนอง คือ การทำนิติกรรมรูปแบบหนึ่งที่นำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนี้ โดยทรัพย์สินที่สามารถนำมารับจดจำนอง ขายฝากเป็นได้ทั้งทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนเฉพาะที่กฎหมายกำหนดให้นำมาจำนองได้ เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องจักร เป็นต้น โดยในการจำนองทรัพย์สินทุกประเภทจะต้องนำสัญญาจำนองไปจดทะเบียนด้วย ซึ่งในกรณีทรัพย์สินที่จำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจ และในกรณีสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ซึ่งรับผิดชอบงานจดทะเบียนสังหาริมทรัพย์ชนิดนั้น ๆ ทั้งนี้ ผู้จำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองและยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนอง จึงมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จำนองต่อไปได้ แต่หากมีการผิดนัดชำระหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันแล้ว ผู้รับจดจำนอง ขายฝากมีสิทธิ์ฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคดีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมาย ประเภท อสังหาริมทรัพย์ที่รับจดจำนองทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนอง เป็นได้ทั้งทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือ ทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนเฉพาะที่กฎหมายกำหนดให้นำมาจำนองได้ เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องจักร เป็นต้น


ลักษณะสัญญาการจำนอง ?

     ผู้จำนองไม่ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือผู้รับจดจำนอง กรณีทำผิดสัญญาจำนอง หากครบสัญญาแล้ว ผู้จดจำนอง สามารถจ่ายดอกเบี้ยเพื่อขอต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือผู้รับจดจำนอง จะฟ้องศาลเพื่อบังคับคดี แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งระหว่างที่ดำเนินการฟ้องร้อง ทรัพย์สินนั้นจะไม่สามารถนำมาขายได้

ค่าจดทะเบียนจำนอง ?

     เสียค่าธรรมเนียมอัตรา 1% จากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท วงเงินในการอนุมัติการจำนองจะได้วงเงินต่ำกว่าการขายฝาก ส่วนอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับอัตราของแต่ละสถาบัน

ขายฝากคืออะไร ?

     การขายฝาก คือ การทำนิติกรรมในรูปแบบของการขายทรัพย์สิน ทั้งที่เป็นทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เป็นต้น ให้กับผู้รับซื้อฝาก โดยการทำสัญญาเอกสารขายฝากและมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝากและได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝาก โดยผู้ขายฝากสามารถขยายเวลาขายฝากกับผู้ซื้อฝากกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ตกลงกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตาม ในกรณีทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจก่อน การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากผู้ขายฝากไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิ์ไถ่ทรัพย์สินคืน โดยผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปใช้สิทธิ์ฟ้องบังคับคดีตามสัญญาขายฝากอีก ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เป็นต้น

ลักษณะสัญญาการขายฝาก ?

 >> ผู้ขายฝากต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือผู้รับซื้อฝาก กรณีทำผิดสัญญาขายฝาก ผู้ขายฝากต้องมาไถ่ถอนสินทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลาสามารถขยายเวลาขายฝากกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ตกลงกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี ตามกฎหมาย สำหรับอสังหาริมทรัพย์ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์ แต่หากไม่มีการขอต่อสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับขายฝากทันที
>> ค่าจดทะเบียนขายฝาก เสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด
>> วงเงินในการอนุมัติการขายฝาก จะได้วงเงินสูงกว่าการจำนอง และดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปีตามที่กฎหมายกำหนด
     สำหรับใครที่กำลังมองหาสถาบันการเงินหรือไฟแนนช์ ในการขอสินเชื่อ"จำนองโฉนดที่ดินเเละบ้าน" เเละ "สินเชื่อโอนย้ายไถ่ถอนโฉนดเเละบ้าน" คุณสามารถติดต่อขอสินเชื่อกับ CiMF Leasing บริการสินเชื่อ ศูนย์รวมไฟแนนช์ ได้ง่ายๆ เพียงกรอกข้อมูลส่วนตัว สมัครสินเชื่อออนไลน์ บนเว็บไซต์ หรือ Line@checkincimf ได้เลยครับ

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่ผู้ให้บริการกำหนด
sas